ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
สำนักปลัด เทศบาลตำบลนาเยียได้ เอกสารบรรยายสรุปข้อมูล สภาพทั่วไป พื้นที่รับผิดชอบของ เทศบาลตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้สนใจ รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
ผังโครงสร้างหน่วยงาน เทศบาลตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
เทศบาลตำบลนาเยีย มีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารงานของเทศบาล มีรองนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน ช่วยบริหารงาน พร้อมด้วยคณะบริหาร เลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน ที่ปรึกษาภาคประชาชน จำนวน 2 คน โดยมีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวนทั้งสิ้น 12 คน ซึ่งมาจากการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 2 เขตเลือกตั้ง เขตละ 6 คน นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภา มีวาระการทำงาน 4 ปี
การบริหารงานภายในของเทศบาลตำบลนาเยีย แบ่งออกเป็น 5 ส่วนราชการ 1 หน่วยงาน คือ
หน่วยงานตรวจสอบภายใน ตรวจสอบบัญชี ทะเบียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบเอกสารเบิกจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบเอกสารการรับเงินทุกประเภท ตรวจสอบภาษีทั้ง ภายนอกและภายใน ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี การจัดเก็บรายได้ ตรวจสอบ พัสดุและการรักษา ตรวจสอบทรัพย์สินของเทศบาล
1. สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล งานธุรการและงานบริหารทั่วไป งานนโยบายและแผนงาน งานการเจ้าหน้าที่ งานนิติการ งานประชาสัมพันธ์ งานทะเบียนราษฎร งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานสวัสดิการและสังคม งานกิจการสภาฯ และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล
2. กองคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน ตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆงานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับพัสดุของเทศบาลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรมการจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์อะไหล่ งานสาธารณูปโภค งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ งานกิจการประปา และงานอื่นๆ
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชน งานส่งเสริมสุขภาพและอนามัย ป้องกันโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด การให้บริการด้านสาธารณสุข งานสัตว์แพทย์ งานเผยแพร่และฝึกอบรม งานส่งเสริมการจัดการขยะชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองผู้บริโภค งานแพทย์แผนไทยและฟื้นฟูสภาพ งานโรงฆ่าสัตว์ และงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน
5. กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัยฯ โดยมีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหาร วิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานทางการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียนและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนาเยีย นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลนาเยีย ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลนาเยีย ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลตำบลนาเยีย กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามกฎหมายที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
- ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
- การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา.
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ถาม-ตอบ Q&A
- ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
- ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
- ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
- ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
- ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
- ตอบ : เปิดให้บริการแล้วนะค่ะ
- ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
- ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
เทศบาลตำบลนาเยีย ก่อนนั้นเป็นสุขาภิบาล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งขึ้นตรงกับ อำเภอเดชอุดม และต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ตำบลนาเยีย ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาเยีย และมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 และมีผลทำให้สุขาภิบาลนาเยีย ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาเยีย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา เทศบาลตำบลนาเยีย มีพื้นที่ประมาณ 10.15 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,340 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาเยีย ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,3,4, และ 8 ห่างจากอำเภอเดชอุดม ประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 35 กิโลเมตร
https://2023.nayia.go.th/council-notice/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleriad43047078b
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนาเยียนั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลนาเยีย จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลนาเยียยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
นโยบายการบริหาร (Administrative Policy)
“สร้างคน สร้างงาน สร้างบ้าน สร้างสามัคคี”
เทศบาลตำบลนาเยีย กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“พัฒนาให้เป็นเมืองสงบน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะ ได้รับการศึกษาถ้วนหน้า”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐานให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึง
- ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข้งของชุมชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติด
- ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ด้านการพัฒนาการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์ (goal)
- การคมนาคม สะดวกรวดเร็ว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
- ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น และพอเพียงต่อการดำรงชีวิต
- เทศบาลหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน
- วัฒนธรรมองค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านคุณภาพการศึกษา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ บริการ สังคม อนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น
- สิ่งแวดล้อมไม่เกิดมลพิษ
- ประชาชนมีสุขาภาพดี