วิสัยทัศน์-พันธกิจ
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลนาเยียนั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลนาเยีย จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลนาเยียยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
นโยบายการบริหาร (Administrative Policy)
“สร้างคน สร้างงาน สร้างบ้าน สร้างสามัคคี”
เทศบาลตำบลนาเยีย กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“พัฒนาให้เป็นเมืองสงบน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะ ได้รับการศึกษาถ้วนหน้า”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพื้นฐานให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึง
- ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มอาชีพของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข้งของชุมชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติด
- ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ด้านการพัฒนาการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์ (goal)
- การคมนาคม สะดวกรวดเร็ว และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
- ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น และพอเพียงต่อการดำรงชีวิต
- เทศบาลหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน
- วัฒนธรรมองค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านคุณภาพการศึกษา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ บริการ สังคม อนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น
- สิ่งแวดล้อมไม่เกิดมลพิษ
- ประชาชนมีสุขาภาพดี